บทที่ 2 เมนบอร์ด
เมนบอร์ดคืออะไร ?
เมนบอร์ด (mainboard) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาส่วนประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะลักษณะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน ดังนั้นเมนบอร์ดจึงเป็นเสมือนกับศูนย์กลางในการทำงานและเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ การ์ดต่าง ๆความเป็นมาของเมนบอร์ด
พัฒนาการของเมนบอร์ดมีมาตั้งแต่ครั้งไอบีเอ็มออกแบบพีซีในปี 2524 โดยพัฒนาขนาดรูปร่างของเมนบอร์ดมาใช้กับเครื่องรุ่นพีซี และต่อมายังพัฒนาใช้กับรุ่นเอ็กซ์ที ครั้นถึงรุ่นเอที ก็ได้หาทางสร้างขนาดของเมนบอร์ดให้มีมาตรฐานขึ้น โดยเฉพาะเครื่องที่พัฒนาต่อมาจะใช้ขนาดของเมนบอร์ดเอทีเป็นหลัก
จนเมื่อพัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวหน้ามามาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในเมนบอร์ดยิ่งมีความสำคัญจนกระทั่งถึงประมาณปี พ.ศ. 2538 หรือขณะนั้นพีซีกำลังก้าวสู่รุ่นเพนเทียม บริษัทอินเทลได้เสนอขนาดของเมนบอร์ดแบบมาตรฐานและเรียกว่า ATX ซึ่งใช้งานกันจนถึงทุกวันนี้
จากขนาดของ ATX ก็มีพัฒนาการต่อเพื่อทำเครื่องให้มีขนาดกะทัดรัดขึ้น โดยลดขนาดของเมนบอร์ดลงและเรียกว่า MicroATX และลดลงอีกในรูปแบบที่ชื่อ FlexATX
ส่วนประกอบต่างๆของเมนบอร์ด
ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่ ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย
2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายนอก ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง
1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก
2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล 400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล 400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน
4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง ทั้งไมค์
3.สล็อต์ AGP
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล มีทั้ง AGP และ PCI Express เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ
5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ
5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซตถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
- North Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
- South Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ
7.หัวต่อ SATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
8.หัวต่อแบบ IDEใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ
ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า จากพาวเวอร์ซับพราย โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว
โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุมใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์ และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USBใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น
เมนบอร์ดแบบ ATX
เมนบอร์ด ATX มีขนาด 12 นิ้ว * 9.6 นิ้ว เป็นขนาดที่มาตรฐานที่สามารถถอดใส่เปลี่ยนกันได้ และเพื่อให้เมนบอร์ดถอดเปลี่ยนกันได้ การออกแบบเมนบอร์ดจึงต้องคำนึงถึงขนาดและตำแหน่งของรูที่ยึดติดกับแท่น และการวางลงในตำแหน่งตัวเครื่อง (กล่อง) ได้อย่างพอดี ขนาดของ ATX ได้รับการออกแบบมาเพื่อมีขนาดพอเหมาะที่จะใส่ของที่สำคัญและจำเป็นได้ครบ ตั้งแต่ซีพียู สล็อตขยายระบบ การจัดวางอุปกรณ์ต้องให้ตำแหน่งได้ลงตัวและไม่ยุ่งยากในเรื่องสายเคเบิ้ลที่จะเชื่อมบนบอร์ด ความคล่องตัวของการใส่อุปกรณ์ในสล็อต ใสซีพียู ติดตั้งพัดลม และมีช่องขยายพอร์ต มีพอร์ตที่จำเป็นพร้อมขยายเพิ่มได้ เช่น พอร์ตอนุกรม พอร์ตขนาน พอร์ตมาตรฐาน ๆ พอร์ต USB พอร์ต TV in/out
ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงช่องทางการไหลของอากาศเพื่อระบายความร้อน และลดเสียงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีการใส่อุปกรณ์ต่างๆ ลงไปบนบอร์ด เช่น พัดลม บนบอร์ดรับสายเชื่อมรองกับแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง ซึ่งปัจจุบันใช้มาตรฐาน + - 5 โวลต์ + - 3.3 โวลต์ อีกทั้งระยะห่างจะต้องเหมาะสมเพื่อการประกอบได้ง่าย
เมนบอร์ด Micro ATX
การเลือกใช้งานเมนบอร์ด
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้งานเมนบอร์ดมีดังนี้
1. การรับประกันของตัวเมนบอร์ด
ควรพิจารณาระยะเวลารับประกันเมนบอร์ดเป็นหลัก เนื่องจากว่าเมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหายง่ายเพราะต้องรับพลังงานจากไฟฟ้าโดยตรงและต้องแจกจ่ายพลังงานไฟฟ้าไปให้กับอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อยู่ตลอดเวลาที่ใช้งาน การพิจารณารับประกันต้องดูด้วยว่ารับประกันทั้งเมนบอร์ดหรือไม่หรือรับประกันเฉพาะส่วน ระยะเวลาในการรับประกันส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3 ปี หรือถ้าเป็นเมนบอร์ดใหญ่ๆ จะอยู่ที่ 5-7 ปี เป็นต้น ควรเลือกเมนบอร์ดที่มีการรับประกันนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. มีการรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
ควรอ่านคู่มือเมนบอร์ดก่อนซื้อทุกครั้ง เพราะจะทำให้ทราบถึงสเปกที่แท้จริงของเมนบอร์ด ไม่ควรฟังจากพนักงานขายเท่านั้นเพราะเทคโนโลยีของเมนบอร์ดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ควรพิจารณา
ซื้อเมนบอร์ดที่รองรับกับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ่นในอนาคตได้
3. ตระกูลของซีพียูที่จะเลือกใช้งาน
เมนบอร์ดในปัจจุบันนี้แบ่งแยกค่ายของการทำงานกับซีพียูอย่างชัดเจน เช่น ถ้าหากเลือกใช้งานซีพียูของอินเทล ก็จะต้องใช้งานซีพียูนั้นตลอดไปไม่สามารถจะใช้งานซีพียู ยี่ห้ออื่นได้ เพราะฉะนั้นควรตัดสินใจให้เด็ดขาดว่าจะเลือกใช้งานซีพียู ยี่ห้อใด ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
4. จำนวนของพอร์ต และสล็อต
เมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อนั้นจะมีพอร์ต และสล็อตไม่เท่ากัน ถ้าเลือกซื้อเมนบอร์ดที่มีสล็อตไม่พอเพียงกับความต้องการอาจจะเป็นปัญหาในการเพิ่มการ์ดต่างๆ ได้ หรือกรณีของพอร์ต เสียบอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น เมนบอร์ดบางตัวอาจจะมีพอร์ต USB ติดกับตัวเมนบอร์ดมาให้ 2 ตัว แต่ในเมนบอร์ดบางตัวอาจจะมีพอร์ต USB ติดกับตัวเมนบอร์ดมาให้ถึง 4 ตัว ซึ่งจะทำให้สามารถต่อพ่วงอุปกรณ์ได้มากขึ้น
5. ควรเลือกใช้เมนบอร์ดมือหนึ่งเท่านั้น
ไม่ควรเลือกใช้เมนบอร์ดเก่าหรือเมนบอร์ดมือสองถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ เนื่องจากเมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เสียง่าย และมีอายุการใช้งานจำกัด หากนำมาใช้อาจจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้ ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ควรจะหาเมนบอร์ดมือสองที่มีอายุการรับประกันนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น