วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 5 เรื่อง ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

บทที่ 5 เรื่อง ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

ฮาร์ดดิสก์คือ ?

ฮาร์ดดิสก์คือ อุปกรณ์ที่รวมเอาองค์ประกอบทั้งกลไกการทำงานและอุปกรณ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าฮาร์ดดิสก์นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนที่สุด ในด้านอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้วการอธิบายการทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้นถือว่าได้ง่าย ภายในฮาร์ดดิสก์นั้นจะมีแผ่น Aluminum Alloy Platter หลายแผ่นหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูง โดยจะมีจำนวนแผ่นขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อต่างกันไป เมื่อผู้ใช้พิมพ์คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานแขนกลของฮาร์ดดิสก์ จะรอรับคำสั่งและเคลื่อนที่ไปยังส่วนที่ถูกต้องของแพล็ตเตอร์ (Platter) เมื่อถึงที่หมายก็จะทำการอ่านข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์นั้น หัวอ่านจะอ่านข้อมูลแล้วส่งไปยัง ซีพียู จากนั้นไม่นานข้อมูลที่ต้องการก็จะปรากฏการทำงานเขียนอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ จะมีการทำงานคล้ายกับการทำงานของเทปคาสเซ็ท




หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์
        ฮาร์ดดิสก์ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1950 ตอนนั้น มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุระดับเพียงเมกะไบต์เท่านั้น ( 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1,000,000 ไบต์) ตอนแรกใช้ชื่อว่า ฟิกส์ดิสก์ (Fixed disks) หรือ วินเชสเตอร์ (Winchesters) เป็นชื่อที่บริษัท IBM เรียกผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของพวกเขา ภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เพื่อให้มีความแตกต่างจากฟลอปปี้ดิสก์( Floppy disk) ภายในฮารด์ดิสก์ มีส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด คือ จานกลมแข็ง ซึ่งฉาบไว้ด้วยสารแม่เหล็ก
        หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี    
           มีความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์ดังนี
          ้ - สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก 
           - สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที 
            - แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.00 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 
            - ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
         เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 10 ถึง 40 กิกะไบต์ ( 1 กิกะไบต์ = 1000 เมกะไบต์) ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป 
             เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ 
           - อัตราการไหลของข้อมูล ( Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที 
            - เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที



ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์

จานฮาร์ดดิสก์


เป็นส่วนประกอบในรูปแบบของจานโลหะติดตั้งอยู่ภายในตัวฮาร์ดดิสก์โดยจำนวนของ Disk Platter มีขนาด และจำนวนแผ่นในฮาร์ดดิสก์ของแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน ขนาดของ Platter เรียกว่า Form Factor ของฮาร์ดดิสก์ มีขนาดต่างๆ ดังนี้
  • "5.25" หรือ 5.12 นิ้ว
  • "3.5" หรือ 3.74 นิ้ว
  • "2.5" นิ้ว
  • "1 1/8" นิ้ว
  • "1 1/3" นิ้ว

ชนิดของสารที่ใช้เคลือบบนจาน Disk Platter มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่

1. สารประเภท Iron Oxide แบบดั้งเดิม สารนี้ถูกเคลือบลงบนจาน Platter ด้วยความหนาประมาณ 30 ไมโครนิ้ว (หนึ่งในล้านของนิ้ว) ข้อเสียของการเคลือบของสารนี้ คือ ความเปราะบางต่อการแตกหัก และชำรุดเมื่อเกิดการกระแทกลงบนผิวของมัน สาร Iron oxide มีข้อเสียตรงที่มีปัญหาเรื่องความสึกกร่อน และจะหลุดออกเป็นผงเมื่อหัวฮาร์ดดิสก์ได้รับการกระทบกระแทกโดยตรงและทางอ้อมต่อพื้นผิวของมัน ผงนี้จะมีลักษณะสีน้ำตาล
2. สารประเภท Thin Film Media เป็นการเคลือบของสารประกอบประเภท Thin Film ที่มีความบางประมาณ 12 ไมโครนิ้ว เท่านั้น ด้วยความหนาขนาดนี้ ทำให้หัวฮาร์ดดิสก์มีความใกล้ชิดกับจาน Platter มากยิ่งขึ้น เป็นผลให้ ความแม่นยำในการอ่านและเขียนลงบนจาน Platter มีมากยิ่งขึ้น ข้อดีอีกประการหนึ่งของ Thin Film ได้แก่ ความสามารถในการทนแรงขีดข่วนของพื้นผิวที่เคลือบ และสามารถป้องกันข้อมูลได้ดีกว่า Iron Oxide


Head Arm/Head Slider


แขนกลที่ติดตั้งหัวฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า Head Slider ซึ่งตัว Slider นั้นมีรูปร่างคล้ายกับยอดแหลมของเรือใบโดยมีจุดกึ่งกลางที่มีไว้เป็นตัวนำพาหัวอ่าน/เขียนของฮาร์ดดิสก์ให้วิ่งไปมาเหนือจานฮาร์ดดิสก(Disk Platter) 
ขนาดมาตรฐานของ Slider โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 0.08 x 0.063 สำหรับฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ขนาดของ Slider นี้ ถูกเรียกว่า "Nano Slider" เนื่องจากมีขนาดเล็ก 


Spindle 



Motor
Spindle Motor เป็นมอเตอร์หลักที่หมุนตัวจานฮาร์ดดิสก์ เหตุที่เรียกว่า Spindle Motor ก็เนื่องจากที่มันเชื่อมต่อกับจานฮาร์ดดิสก์โดยตรง และหมุนเป็นวงกลม
การทำงานของมอเตอร์ชนิดนี้เป็นแบบ Feed Back Loop เพื่อการปรับอัตราความเร็วในการหมุนของมันโดยอัตโนมัติ และโดยทั่วไป อัตราความเร็วในการหมุนมีตั้งแต่ 3600 รอบ ไปจนถึง 10,700 รอบทีเดียวซึ่งอัตราความเร็วในการหมุนของจานฮาร์ดดิสก์นี้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่เร็วดีขึ้นฮาร์ดดิสก์ที่ยิ่งมีความเร็วในการหมุนเท่าใดก็ยิ่งดีมากเท่านั้น 


Spindle Ground Strap 
Spindle Ground Trap เป็นตัวดักจับไฟฟ้าสถิตที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีประจุไฟฟ้าที่เกาะบนพื้นผิวจาน Platter แล้วหมุนด้วยความเร็วสูงจนอาจเกิดปรากฏการณ์ไดนาโมขึ้น ซึ่งตัวดักจับไฟฟ้าสถิตนี้ จะอยู่ที่ด้านล่างของ Motor ในฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่าหรือแบบรุ่นใหม่บางรุ่น


Logic Board



Logic Board จัดว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของตัวฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งบน Logic Board นี้ ประกอบไปด้วย Processor Chip และหน่วยความจำทั้ง Flash Memory รวมทั้ง Ram Buffer และ Servo Processor ที่ใช้ควบคุม Motor เป็นต้น


คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ภายในฮาร์ดดิสก์มักเป็นแบบ Head Slider สุญญากาศ ซึ่งไม่เป็นเช่นนั้น และฮาร์ดดิสก์จะไม่มีวันทำงานภายใต้เงื่อนไขสุญญากาศอย่างแน่นอน เนื่องจากหัว Read/Write ของฮาร์ดดิสก์ต้องการอากาศที่จะคอยยกหัวของมันให้ลอยเหนือจาน Disk Platter นั่นเอง
ฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่เมื่อถูกนำมาทำงานที่ระยะความสูงเหนือระดับน้ำทะเล เช่น บนภูเขาหรือบนเครื่องบิน เมื่อแรงดันอากาศต่ำมากฮาร์ดดิสก์จึงต้องการ Sealed ที่ดี ป้องกันไม่ให้อากาศจากภายในฮาร์ดดิสก์รั่วไหลออกไป
อย่างไรก็ดีฮาร์ดดิสก์มักมี Filter 2 ชุด ๆ หนึ่งเรียกว่า Filter การไหลเวียนของอากาศและอีกชุดหนึ่งเรียกว่า Breather Filter หรือ Barometric Filter โดย Filter การไหลเวียนของอากาศมีไว้เพื่อการกรองเอาอนุภาคฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการ กร่อนของ Oxide ที่เคลือบบนจานฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากการครูดของหัวฮาร์ดดิสก์กับจานฮาร์ดดิสก์ ซึ่ง Filter ตัวนี้จะไม่กรองอากาศจากภายนอกเข้ามา ส่วนระบบ Filter อีกแบบหนึ่ง คือ Breather Filter นั้นเป็น Filter ที่เชื่อมภายในของฮาร์ดดิสก์ได้ และเมื่อความดันอากาศลดลง Filter ตัวนี้ก็จะยอมให้อากาศจากภายใน สามารถระบายออกไปที่ภายนอกฮาร์ดดิสก์ได้เช่นกัน และ Filter ขนาดนี้สามารถป้องกันมิให้อนุภาคที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 10 ไมโครนิ้ว สามารถเข้ามาที่ฮาร์ดดิสก์ได้

Cable กับ Connectors




Cable กับ Connectors มีไว้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดดิสก์กับคอมพิวเตอร์หลัก จุดประสงค์ก็เพื่อการถ่ายเทข้อมูลไปมาระหว่างฮาร์ดดิสก์กับคอมพิวเตอร์ ขนาดของ Connector ขึ้นอยู่กับขนาดของฮาร์ดดิสก์ ดังนี้
  • HDD ระบบ IDE/EIDE มีขนาด Connector 40 Pins
  • HDD ระบบ SCSI-1 หรือ SCSI-II หรือ Fast SCSI ต่างใช้ 50 Pins
  • HDD ระบบ Wide SCSI มี Connector ขนาด 60 Pin

Power Connector เป็นที่ๆ เราใช้เพื่อป้อนแรงดันไฟเลี้ยงฮาร์ดดิสก์ ซึ่งมี Connector ซึ่งใช้สายไฟ 4 เส้น ได้แก่ สีแดง สำหรับไฟ +5V สีเหลือง สำหรับไฟ +12V ส่วนสีดำ จะเป็น Ground แรงดันไฟที่ใช้เลี้ยงฮาร์ดดิสก์นี้ หากมีความคลาดเคลื่อนก็ต้องไม่เกินบวกลบ 0.5V


หัวอ่าน/เขียน ของฮาร์ดดิสก์ Read/Write Head 




Read/Write Head หรือหัวอ่าน/เขียนของฮาร์ดดิสก์ มีไว้เพื่อการอ่านและเขียนข้อมูลลงบนจานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter) ปกติจำนวนของหัว Read/Write นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนของจาน Disk Platter ซึ่งหมายความว่า ฮาร์ดดิสก์ที่มี 2 จาน Platter จะต้องมีหัว Read/Write นี้ถึง 2 หัว (หัวบนและหัวล่างต่อ 1 จานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter)) แต่ก็ไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป
ปกติหัวฮาร์ดดิสก์ หรือ Read/Write Head นี้จะต้องไม่แตะต้องกับจานฮาร์ดดิสก์ ขณะที่มีการทำงานปกติ แต่เมื่อใดที่ฮาร์ดดิสก์หยุดการทำงาน หัวฮาร์ดดิสก์นี้จะสัมผัสกับจาน Disk Platter เนื่องจากว่า สาเหตุที่หัวฮาร์ดดิสก์สามารถลอยตัวอยู่เหนือจานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter) ได้ เนื่องจากแรงกระพือของลมที่อยู่ภายในตัวฮาร์ดดิสก์ ขณะที่จานหมุนจะช่วยยกหัวฮาร์ดดิสก์ให้ลอยตัวขึ้นจากจาน Disk Platter ได้
ระดับความสูงของหัวฮาร์ดดิสก์ ที่ลอยเหนือจานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter) จะอยู่ที่ประมาณ 200-300 ไมโครนิ้วเท่านั้น แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้หัวอ่านลอยอยู่เหนือจาน Disk Platter เพียง 3-5 ไมโครนิ้วเท่านั้น





พาร์ชั่นติชั่นฮาร์ดดิสก์ คือ ?

             พาร์ติชั่น (Partition)  คือ การแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เป็นส่วน ๆ หรือแบ่งเป็นหลายๆ ไดร์ฟ นี้เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและโปรแกรม โดยปกติควรแบ่งพาร์ตชั่นอย่างน้อยเป็น 2 ไดร์ฟ คือ C: และ D: โดยปกติเมื่อมีการใช้งาน Windows ไปสักพักหนึ่ง มีการติดตั้งโปรแกรมใหม่ ๆ และยกเลิกการติดตั้งบ่อยๆ จะทำให้ระบบ Windows มีปัญหา ทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือการ Format ฮาร์ดดิสก์ และติดตั้งโปรแกรมใหม่ ดังนั้นถ้ามีไดร์ฟเดียวจะทำให้มีปัญหาของข้อมูลที่ต้องการสำรอง



ประเภทของพาร์ติชัน

แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

1. Primary Partition
เป็นพาร์ติชันหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับในการบูตเข้าระบบคอมพิวเตอร์ พาร์ติชันหลักจะหมายถึง drive C:

2. Exteded Partition
พาร์ติชันเสริม เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรม เมื่อมีการสร้าง Extended Partition จะเกิด Logical Partition อัตดนมัติ โดยเราสามารถแบ่งเป็นพาร์ติชันย่อยๆ ได้ และสามารถกำหนด Drive ได้ตั้งแต่ D จนถึง Z การสร้าง Extended Partition จะสร้างได้ ต้องสร้างหลัง Primary Partition แล้วเท่านั้น

3. Logical Partition 
เป็นพาร์ติชั่นที่อยู่ภายใต้ Extended Partition จะเกิด Logical Partition ได้ต่อเมื่อมีการสร้าง Extended Partition ก่อนเท่านั้น  เวลาสร้าง Partition จะใช้โปรแกรมชื่อ Fdisk.exe หรือ Partition Magic ช่วยในการสร้าง



ปัญหาของฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่าบอบบางมากที่สุดตัวหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์จุดมักจะเกิดปัญหาฮาร์ดดิสก์ขัดข้อง หรือขึ้นข้อความเตือนมานั้น เป็นปัญหาที่สร้างความสงสัยเป็นอย่างมากสำหรับฮาร์ดดิสก์ เมื่อเกิดปัญหาแล้วควรแก้ปัญหา และวิเคราะห์อย่างมีหลักการ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์ให้ใช้ประโยชน์ได้นาน ปัญหาต่างๆ มีดังนี้

1. ปัญหาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ของฮาร์ดดิสก์
คือจะมีอาการฮาร์ดดิสก์ไม่หมุน หลอดไฟไดรฟ์ไม่ติด มอเตอร์ของฮาร์ดดิสก์หมุนแต่มีข้อความที่แสดงว่าหาฮาร์ดดิสก์ไม่เจอปรากฏบนหน้าจอ


วิธีแก้ปัญหา
1.ตรวจสอบการจ่ายไฟให้กับไดร์ฟโดยเช็คไฟ +12v (สายไฟ เส้นสีเหลือง) +5v (สายไฟเส้นสีแดง)
2.ตรวจสอบการติดตั้งสายสัญญาณ (ตรวจสอบสภาพของ สาย Pair Hard Disk เพื่อหาจุดพกพร่องของสาย)
3.ตรวจสอบ CMOS Setup เพื่อให้แน่ใจว่าท่านได้กำหนด หัวข้อที่เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ถูกต้องหรือไม่
4.ตรวจสอบสัญญาณ IDE Interface (ใช้ Logic Probe วัดที่ขา 39 ซึ่งควรเห็นสัญญาณ Pulse Low 1 ครั้งหลังจากที่นับ RAM บนหน้าจอเสร็จ) หากไม่มีสัญญาณที่ขา 39 ปัญหามาจากแผงวงจรบนตัวฮาร์ดดิสก์ไม่ทำงาน

2. มองเห็นฮาร์ดดิสก์มีปฏิกิริยาแต่ไม่ยอมบูต
อาการที่พบโดยทั่วไปจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ Drive Failure Boot Sector Failure DOS/Windows File Corruption

วิธีแก้ปัญหา
1. ตรวจสอบสายสัญญาณ
2. ตรวจสอบ CMOS Setup
3. ตรวจสอบ Boot Sector
4. ลองตรวจสอบดู MBR ด้วย FDISK/MBR
5. ตรวจสอบ Drive และ Controller

3. มีเสียงดังผิดปกติมาจากตัวฮาร์ดดิสก์
อาการที่พบคือ ขณะเปิดเครื่องใช้งานและฮาร์ดดิสก์ไม่ทำงานลักษณะนี้ อาจมีเสียงคล้ายโลหะกระทบกันเป็นจังหวะ

วิธีแก้ปัญหา
1. ปิดเครื่องและถอดฮาร์ดดิสก์มาเขย่าเบาๆในแนวนอน (ระวังอย่าหลุดมือ) แล้วลองฟังเสียงผิดปกติที่เกิดขึ้น สังเกตว่ามีเศษวัสดุกระทบภายในหรือไม่ 
2. ติดตั้งฮาร์ดดิสก์กลับไปที่เดิมแล้วเปิดเครือ่งจากนั้นเอามือสัมผัสกับแรงกระเทือนภายในฮาร์ดดิสก์ หากมีความหนักแน่น และเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ แสดงว่าปัญหาเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่จ่ายเลี้ยง Actuator ภายในขัดข้อง เป็นปัญหาจากทรานซิสเตอร์ที่เป้ฯตัวขับแรงดันไฟไปเลี้ยง Actuator บกพร่อง


******
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่ถ้าอยู่ในเงื่อนไขการรับประกันฮาร์ดิสก์ ก็ต้องรีบไปเคลมกับทางร้านที่ซื้อมาโดยเร็ว ส่วนมากร้านที่รับเคลมจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่จะไม่ซ่อมเนื่องจากว่าฮาร์ดดิสก์ถ้าเอาไปซ่อมแล้วจะไม่สามารถซ่อมได้เต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์





การบำรุงรักษาฮาร์ดดิสก์

วิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์มีดังนี้

1. ควรทำ Defragmenters อย่างน้อยเดือนละครั้ง 
2. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง
3. ควรมี UPS เพื่อป้องกันไฟดับขณะฮาร์ดดิสก์กำลังทำงาน
4. ควรรอฮาร์ดดิสก์หยุดทำงานก่อนการปิดเครื่องทุกครั้ง
5. หากมีฮาร์ดดิสก์มากกว่า 1 ตัว และมี CD/Rom ด้วยแนะนำให้ใช้ Power Supply อย่างน้อย 300 วัตต์
6. อย่าสัมผัสแผงวงจรด้วยมือ หรือวัสดุอื่น
7. ใช้คีมปากคีบในการถอดหรือ ติดตั้ง Jumper
8. ปิด Power ทุกครั้งและรอให้ฮาร์ดดิสก์หยุดหมุนก่อนการถอดฮาร์ดดิสก์










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น